การส่งบทความ
การส่งบทความ
ดาวน์โหลดเอกสาร
ดาวน์โหลดหลักเกณฑ์ในการตีพิมพ์
ประกาศมหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์และหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนการตรวจประเมินบทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและพัฒนา
อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) พ.ศ.2564”
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสร์และสังคมศาสตร์
เรื่องที่จะส่งเพื่อขอลงพิมพ์ต้องเป็นผลงานวิจัยในลักษณะบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น และบทความปริทัศน์ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิเช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ และสหวิทยาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสร์และสังคมศาสตร์อาทิ เช่น ภาษา ภาษาศาสตร์ การเรียนการสอนภาษา การแปล วรรณคดี คติชนวิทยา ศิลปะการแสดง ปรัชญาและศาสนา สื่อสารมวลชน ดนตรี ศิลปะและการท่องเที่ยวซึ่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใด วารสารหนึ่งมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างเสนอขอลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น เขียนเป็นภาษาไทย
รูปแบบการส่งบทความวารสาร
1. ชื่อบทความ / บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีข้อความตรงกัน
2. ตรวจสอบชื่อเรื่อง
-ชื่อบทความ ยาวเกิน 2 บรรทัดขึ้นไป จัดรูปแบบลักษณะสามเหลี่ยมหัวกลับ คือ และแบ่งข้อความแต่ละบรรทัดให้ได้ใจความ
-จัดรูปแบบการพิมพ์ ให้เหมือนกันทั้งแบบและขนาดของตัวอักษร (คำภาษาอังกฤษตัวแรกให้ใช้ ตัวพิมพ์ใหญ่)
3. ตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ชื่อเหล่านี้แล้ว
-ชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (ขนาดอักษร 16 แบบอักษร THSarabunPSK จุด ตัวหนา)
-ชื่อเจ้าของบทความ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ถูกต้อง รวมทั้งการสะกดคำตรงกัน (ขนาดอักษร 14 จุด แบบอักษร THSarabun PSK ตัวหนา)
– เชิงอรรถที่เป็นชื่อตำแหน่งทางวิชาการและของเจ้าของบทความ (ขนาดอักษร 12 จุด ตัวปกติ)
4. ตรวจสอบสิ่งเหล่านี้แล้ว คือ
– โปรแกรมที่ใช้ในการจัดพิมพ์ Microsoft office Word
-การตั้งค่าหน้ากระดาษเท่ากัน สม่ำเสมอกันทุกหน้า จัดหน้ากระดาษขนาด A4 ตั้งค่าขอบกระดาษ ทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
-จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 12 หน้า (ไม่รวมเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม)
-หัวข้อหลักใช้ขนาดอักษร 14 จุด หัวข้อรองและเนื้อหาใช้ขนาดอักษร 14 จุด
– การจัดคอลัมน์เป็นคอลัมน์คู่ (ยกเว้น บทคัดย่อและ ABSTRACT เป็นคอลัมน์เดี่ยว)
– การเว้นระยะย่อหน้าในหัวข้อระดับต่างๆ ให้ใช้ดังนี้
-ย่อหน้าลำดับแรกให้เว้นระยะ 1.5 เซนติเมตร จากขอบซ้าย
– ย่อหน้าลำดับที่ 2 เพิ่มออกไปอีก 0.5 เซนติเมตร เรื่อยๆ
5. ตรวจสอบบทคัดย่อและ ABSTRACT
-ต้องระบุถึงความสำคัญของเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม เครื่องมือ การทดสอบ ทดลอง และสถิติที่ใช้ในการวิจัย) ผลการวิจัย และอภิปรายผล ความยาวไม่เกิน 250 คำ ระบุคำสำคัญ 3-5 คำ ระหว่างคำใช้ / คั่น
6. ตรวจเนื้อหา
-กรณีเป็นบทความวิชาการ ประกอบด้วยความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไข ปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล สรุปผล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเตอร์เน็ต ประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางการแก้ไข
-กรณีเป็นบทความวิจัย ให้เริ่มจากบทนำโดยมีความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด สมมติฐาน (ถ้ามี) วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย การเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย เอกสารอ้างอิง
7. ตรวจสอบตาราง
-กรณีชื่อตารางยาวเกิน 1 บรรทัด อักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 2 ขึ้นไปพิมพ์ตรงกับอักษรตัวแรกของ ชื่อตารางในบรรทัดแรก ชื่อตารางต้องเป็นภาษาอังกฤษ
8. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม
– ใช้รูปแบบ APA
– การอ้างอิงต้องถูกต้องและตรงกัน ทั้งในเนื้อหาและตอนท้าย
– ตรวจสอบรูปแบบการจัดเรียง รวมทั้งการใช้และการเคาะวรรคตอน . , : ; การใช้หรือไม่ใช้ตัวหนา ถูกต้องทุกรายการแล้ว
9. แนบผลการตรวจระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ อักขราวิสุทธิ์ โดยต้องมีความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่ยอมรับได้ ไม่เกินกว่าร้อยละ 10
อัตราค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์
1. นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย 2,000 บาท
2. นิสิต นักศึกษา ภายนอกมหาวิทยาลัย 2,500 บาท
3. บุคคลภายในมหาวิทยาลัย 2,500 บาท
4. บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย 3,000 บาท
หมายเหตุ:
– ในกรณีที่บทความนั้นไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนไม่สามารถขอคืนค่าดำเนินการจัดพิมพ์บทความได้
– อัตราค่าดำเนินการจัดพิมพ์ ตามประกาศมหาวิทยาลัยนครพนม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์และหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนการตรวจประเมินบทความวิจัย และบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) พ.ศ.2564”