เกี่ยวกับวารสาร

"เกี่ยวกับวารสาร"

วัตถุประสงค์

            วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความวิจัย บทความทางวิชาการ จากงานงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ของนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ในมิติความรู้สหวิทยาการสมัยใหม่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการค้นคว้าและวิจัย การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ  

สาระสังเขป

          วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์) (Journal of Research and Development the Greater Mekong Subregion (Online)) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด เทคนิค วิธีการ หรือการพัฒนาสิ่งใหม่ ในสาขาวิชาสหวิทยาการทั้งด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยในและผลงานวิชาการในเชิงสังคมและเชิงวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบผลงานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าที่สามารถตรวจสอบและอ้างอิงได้

ภาษา

ภาษาไทย

ความถี่ในการตีพิมพ์

 กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี
       ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน
       ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
       ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม

กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์)

ที่ปรึกษา

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนมที่ได้รับมอบหมาย
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

บรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญลยา  มิขะมา              มหาวิทยาลัยนครพนม

กองบรรณาธิการ (ภายนอก)

  1.ศาสตราจารย์ ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร       
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  2.ศาสตราจารย์ ดร.ระพีพันธ์ ปิตาคะโส       
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  3.ศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข           
         คณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  4.ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ พิสุทธิ์ไพศาล   
         คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  5.
รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์
         คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล
  6.รองศาสตราจารย์ ดร.เอกนฤน บางท่าไม้
         คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  7. รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพ อารีเอื้อ
         คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.นสพ.ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา
         สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล 
มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล
         คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  10. รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรา เพ่งธรรมกีรติ
         คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรมะ แขวงเมือง
         คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไลพรรณ สมบุญตนนท์
         คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์
การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  13. ดร. นายแพทย์ เกรียงไกร ประเสริฐ
         กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลนครพนม

กองบรรณาธิการ (ภายใน)

   1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิภัทร ศรีสุข
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
         คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนอม ทาทอง
         คณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม
   4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันตรี โคมพิทยา
          วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
   5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ยตะโคต
          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   6. อาจารย์ ดร.พรหมภัสสร ชุณหบุญญทิพย์
          วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม
   7. อาจารย์ ดร.วรวุฒิ อินทนนท์
          คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   8. อาจารย์รชต ตามา
           วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม
   9.อาจารย์สุมิตรชัย กันหาคุณ
           วิทยาลัยนาหว้า มหาวิทยาลัยนครพนม
   10. อาจารย์บุญเลิศ โพธิ์ขำ
           คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม
   11.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ภูมินทร์ ฮงมา
           คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
   12. ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.เชิดชัย โพธิ์ศรี
            คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร
           วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม 
มหาวิทยาลัยนครพนม
   14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤษณ์ ชูเรือง
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์
           คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   16. อาจารย์ ดร.อนุชิต สิงห์สุวรรณ
           คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
   17. อาจารย์จรินทร โคตพรม
           วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

1. นางสาวพรพิมล ควรรณสุ                มหาวิทยาลัยนครพนม
2. นางสาวชนิดา ยุบลไสย์                     
มหาวิทยาลัยนครพนม
3. นางภัทราวดี วงษ์วาศ                        
มหาวิทยาลัยนครพนม
4. พันจ่าเอกวัลลภ บุญทานัง               
มหาวิทยาลัยนครพนม
5. นางสาวพัชญทัฬห์ กิณเรศ             
มหาวิทยาลัยนครพนม
6. นางสาววิลาวัลย์ ทองนรินทร์          
มหาวิทยาลัยนครพนม
7. นายสมพร กงนะ
                               มหาวิทยาลัยนครพนม
8. นางสาวสุราลักษณ์ บุตรโท              
มหาวิทยาลัยนครพนม 

ฝ่ายจัดการวารสาร

1. นางสาวพรพิมล ควรรณสุ          สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
2. นางภัทราวดี วงษ์วาศ                 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
3. นางสาววิลาวัลย์ ทองนรินทร์     สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
4. นายสมพร กงนะ                          สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
5. นางสาวสุราลักษณ์ บุตรโท        สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
6. นางสาวศันสนีย์ นนทะวงศ์        สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
7. นางผกามาศ นาคพงษ์                สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
8. นางอาพาพร สุพร                       สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม
9.นายดำรงศักดิ์ ฤทธิ์งาม              สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสั่ง แต่งตั้งกองบรรณาธิการวารสารวิจัยและพัฒนาอนุมิภาคลุ่มน้ำโขง (ออนไลน์)

จริยธรรมการเผยแพร่บทความ

           กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติที่ดี รวมถึงจริยธรรมของการเผยแพร่ผลงานวิชาการไว้สำหรับการดำเนินงานของวารสารและผู้เกี่ยวข้อง กำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่ในวงจรปกติและหลักเกณฑ์ของการเผยแพร่วารสาร ได้แก่ ผู้เขียนบทความ (author) บรรณาธิการวารสาร (editor) และผู้ประเมินบทความ (peer-reviewer) ได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว ดังนี้     

        บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
             1. ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าผลงานที่เผยแพร่เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
            2. ผู้เขียนบทความต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามองค์ประกอบ รูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
            3. ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นถ้ามีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตนเองผ่านการอ้างอิงและบรรณานุกรมทุกครั้งเพื่อแสดงหลักฐานการค้นคว้า
            4. ผู้เขียนบทความต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยหรือการค้นคว้าทางวิชาการ ด้วยความ ซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลเท็จ ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิมนุษยชน
            5. ผู้เขียนบทความต้องไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกัน ไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใดจากผลงานเดิมของตน โดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นผลงานใหม่
           6. ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยในบทความ
           7. ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องมีส่วนในการวิจัย ค้นคว้า และเขียนบทความร่วมกันจริง
           8. ผู้เขียนบทความต้องแจ้งผลประโยชน์ทับซ้อนที่มีในบทความให้กองบรรณาธิการทราบ ตั้งแต่เริ่มส่งต้นฉบับบทความ
           9. ผู้เขียนบทความต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน ที่ดำเนินการหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หากบทความมีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์
           10. ผู้เขียนบทความต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความ และการดำเนินงานของวารสารไม่ว่าทางหนึ่งทางใด
           11. วารสารที่ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ประเมินให้เป็นอันตกไป ไม่สามารถนำมาประเมินใหม่หรือนำเสนอใหม่ได้อีกครั้งไม่ว่ากรณีใด ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอของผู้ประเมินแล้วก็ตาม

       บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
            1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความเพื่อเผยแพร่ในวารสารที่รับผิดชอบ
            2. บรรณาธิการมีหน้าที่เผยแพร่บทความในวารสารให้เป็นไปตามรูปแบบ องค์ประกอบ และหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
            3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ ให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
            4. บรรณาธิการต้องไม่เผยแพร่บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว
            5. บรรณาธิการต้องลำดับการเผยแพร่บทความให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
            6. บรรณาธิการต้องไม่เผยแพร่บทความของตนเองในวารสารที่รับผิดชอบขณะเป็นบรรณาธิการ
            7. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ ผู้ประเมิน และผู้บริหาร
            8. บรรณาธิการต้องมีหน้าที่กำกับดูแลไม่ให้เกิดการแทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความ และการดำเนินงานของวารสารไม่ว่าทางหนึ่งทางใด

        
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ  
             1. ผู้ประเมินบทความมีหน้าที่รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของบทความ
             2. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความที่ตนเป็นผู้ประเมิน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการที่ปรึกษา หรือเหตุผลอื่นที่ไม่อาจให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้

            3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาหรือเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ พิจาณาจากความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่มีต่อสาขาวิชาหรือเรื่องที่ตนเป็นผู้ประเมิน รวมถึงคุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน
            4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนดภายใต้หลักวิชาการ ปราศจากอคติ ประเมินบทความตามข้อเท็จจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการประเมิน และไม่ถือความคิดเห็นส่วนตนที่ไม่มีข้อมูลมารองรับอย่างเพียงพอ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลการประเมินบทความ
             5.ผู้ประเมินบทความต้องประเมินและวิจารณ์เนื้อหาเชิงวิชาการและให้ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนบทความในเชิงรายละเอียด เพื่อการปรับปรุงแก้ไขบทความ โดยคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นสำคัญ
            6. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการสำคัญที่สอดคล้องกับเนื้อหาของบทความที่ประเมินแต่ผู้เขียนบทความไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความที่เหมือนหรือมีลักษณะซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้ว ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
            7. ผู้ประเมินบทความต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาบทความ การประเมินบทความ และการดำเนินงานของวารสารไม่ว่าทางหนึ่งทางใด